ภาษาและภาษาศาสตร์
“ภาษาศาสตร์” เป็นศาสตร์ที่ศึกษาภาษาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (The Scientific Study of Language) โดยวิเคราะห์ภาษาใน 3 ลักษณะคือ รูปภาษา ความหมาย และการใช้ภาษาตามปริบท เช่น วิเคราะห์การประกอบเสียงเป็นคำที่มีความหมาย การสร้างคำและประโยค และศึกษาอิทธิพลของปริบทต่อการใช้ภาษาและการตีความ ฉะนั้นหลักการทางภาษาศาสตร์จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาภาษาได้ทุกภาษา นอกจากนี้ การศึกษาภาษายังสามารถศึกษาในเชิงบูรณาการกับศาสตร์อื่น เกิดเป็นศาสตร์ย่อยต่าง ๆ เช่น ภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา ภาษาศาสตร์เชิงสังคม ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ภาษา ตลอดทั้งการประยุกต์หลักการทางภาษาศาสตร์เพื่อการสอนภาษา การแปล การทำพจนานุกรม หรือการแก้ไขปัญหาด้านการพูด การศึกษาภาษาตามวิธีทางภาษาศาสตร์ จึงช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของภาษาและวิธีการสื่อสารของผู้พูด ตลอดทั้งเข้าใจความหลากหลายของภาษาในสังคม
Citation:
ภาควิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2561). ภาษาและภาษาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ดียู ศรีนราวัฒน์ และชลธิชา บำรุงรักษ์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
NIDA Library Newsletter, Vol. 11 Iss. 5 (Sep-Oct 2021)